ปภ.เตือน 58 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

วันที่ 13 เม.ย. 2566 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 2 (103/2566) ลงวันที่ 13 เม.ย. 2566 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น มีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 15 – 16 เม.ยคำพูดจาก สล็อตออนไลน์. 2566 ได้แก่

พบจุดความร้อนขยับพุ่ง 2,030 จุด ค่าฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานเกือบ 40 จังหวัด

พยากรณ์อากาศ 10 วันข้างหน้า “อากาศแปรปรวน – เฝ้าระวังพายุฤดูร้อน”

  • ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง 24 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และเพชรบุรี

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) จึงได้เน้นย้ำจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ในพื้นที่เสี่ยงภัย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัย โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้ทันที รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นและระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามสภาพอากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ขณะเกิดพายุฤดูร้อนให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหาย

By admin

Related Post