ยังคงเป็นเรื่องที่น่าจับตา สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก 8 พรรค 313 เสียง โดยเฉพาะการจัดสรรตำแหน่งสำคัญในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยตำแหน่งที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้คือ ตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”
ซึ่งจะเห็นถึงการยื้อแย่งกันระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย โดยต่างฝ่ายต่างหมายตาตำแหน่ง“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” เพื่อคุมเกมในฝ่ายนิติบัญญัติ
ล่าสุด พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุถึง 3 วาระที่พรรคก้าวไกลต้องการผลักดันในฐานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” โดยวาระแรก เพื่อผลักดันกฎหมายที่ก้าวหน้า โดยในสัญญาประชาคมที่พรรคก้าวไกลให้ไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีกฎหมายอย่างน้อย 45 ฉบับของพรรคก้าวไกลที่ต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร เป็นกฎหมายการเมือง 11 ฉบับ กฎหมายสิทธิเสรีภาพ 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูปที่ดิน 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูประบบบริหารราชการ 8 ฉบับ กฎหมายบริการสาธารณะ 4 ฉบับ กฎหมายเศรษฐกิจ 4 ฉบับ กฎหมายสิ่งแวดล้อม 2 ฉบับ กฎหมายแรงงาน 2 ฉบับ กระบวนการนิติบัญญัติที่ก้าวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้กฎหมายเหล่านี้ได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพ
วาระที่สอง เพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเดินหน้าอย่างราบรื่น โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นวาระสำคัญ และถูกระบุไว้ใน MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล การทำภารกิจนี้ให้ลุล่วง จะต้องผ่านการประชุมสภาหลายครั้ง และจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในเนื้อหาที่มีความแหลมคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประธานสภาต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในการอำนวยการประชุมให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น เป็นที่ยอมรับของสมาชิกสภาทุกฝ่าย และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
และวาระที่สาม ก้าวไกลจะผลักดันหลักการ “รัฐสภาโปร่งใส” และ “ประชาชนมีส่วนร่วม” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ซึ่งการผลักดันเรื่องดังกล่าวอยู่ที่ประธานรัฐสภา อาทิ ถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการทุกคณะ ส่งเสริมการทำงานของสำนักงบประมาณรัฐสภา (Parliamentary Budget Office หรือ PBO) ในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และตั้งสภาเยาวชน ซึ่งอาจต่อยอดจากสภาเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ และกำหนดให้ข้อเสนอใดที่สภาเยาวชนลงมติเห็นชอบ ถูกบรรจุเป็นวาระที่รัฐสภาต้องรับไปพิจารณาต่อโดยอัตโนมัติ
โดยมีการทิ้งท้ายว่า พรรคก้าวไกลต้องการให้ผู้แทนราษฎรของเราดำรงตำแหน่งประธานสภา ไม่ใช่เพื่อตำแหน่ง แต่เราต้องการอำนาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงรัฐสภาไทยให้สามารถออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้จริง และเป็นรัฐสภาที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง
เลือกตั้ง 2566 : “อดิศร” ขู่ “ก้าวไกล” อย่าดื้อดัน ย้ำ“เพื่อไทย” เหมาะนั่งประธานสภา
เลือกตั้ง 2566 : “ปิยบุตร” ออกโรงเตือน “ก้าวไกล” อย่ายอมยกเก้าอี้ประธานสภาให้ใคร
เลือกตั้ง 2566 : จับตา! เส้นทาง "พิธา" ขึ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ขณะที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ให้สัมภาษณ์กับ พีพีทีวี ในฐานะที่เคยเป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา มองว่า ตามหลักคนที่จะขึ้นเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ มักมาจากพรรคอันดับ 1 แต่ในอดีตก็เคยมี พรรคอื่น ต่อรองและได้ขึ้นเป็นประธานสภาเช่นกัน ขึ้นอยุ่กับการพูดคุยกัน ของพรรคร่วมรัฐบาล แต่หากถามว่า วัยวุฒิ มีความสำคัญกับการเป็นประธานสภาหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ บอกว่า ก็มีความสำคัญ เพราะการจะควบคุมการประชุม ส.ส. 500 คน หรือ รัฐสภา 750 คน ไม่ใช่เรื่องง่าย
ส่วนคุณสมบัติที่ประธานสภาควร มีจริงๆแล้วมีอะไรบ้าง นายวันมูหะมัดนอร์ มองว่า นอกจากเรื่องวัยวุฒิแล้ว ยังต้องเป็นคนที่ เชี่ยวชาญกฎหมาย รู้ข้อบังคับการประชุม รวมถึงรู้จักการประสานงานหลายฝ่าย และ ต้องมีความประนีประนอมสูง ต้องมีวาทศิลป์ในการควบคุมการประชุม ทั้งนี้ ส.ส. 500 คน แต่ละคน เป็นที่ 1 ในตองอูทั้งนั้น หรือ รัฐสภา 750 คน แต่ละคนก็ชั้นยอด ดังนั้น ประธานสภา ต้องยิ่งกว่า ที่ 1 เพื่อที่จะควบคุมการประชุมได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง